ทุกวันนี้ อุตสาหกรรมการเงินและการธนาคารต้องเจอกับภัยคุกคามทาง ไซเบอร์ ที่เพิ่มขึ้น การโจมตีเหล่านี้ไม่เพียงแต่ขโมยข้อมูลส่วนบุคคล แต่ยังอาจกระทบต่อความมั่นคงของระบบการเงินทั่วโลก
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับภัยคุกคามทาง ไซเบอร์ ในอุตสาหกรรมนี้ และ วิธีป้องกันเพื่อความปลอดภัยขึ้น
การโจมตีแบบ Phishing
การที่ผู้โจมตี ปลอมตัวเป็นธนาคารหรือองค์กรการเงินที่น่าเชื่อถือ ส่งอีเมลหรือข้อความหลอกลวงเพื่อขโมยข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่าน หมายเลขบัญชี หรือข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้า
เมื่อผู้ใช้หลงกลและกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไปในเว็บไซต์ปลอม ข้อมูลเหล่านี้จะตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดีทันที
Ransomware หรือ การโจมตีแบบเรียกค่าไถ่
เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมา เพื่อเข้ารหัสข้อมูลและขอเรียกค่าไถ่ เพื่อให้ผู้โจมตีปลดล็อกข้อมูลนั้น หากธนาคารหรือสถาบันการเงินตกเป็นเหยื่อ ข้อมูลของลูกค้าหรือการทำธุรกรรมอาจถูกขัดขวาง และอาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการบริการลูกค้า
การโจมตีแบบ DDoS
โจมตีแบบ DDos คือการที่ผู้โจมตีแบบส่งคำขอจำนวนมากไปที่ระบบของธนาคารหรือสถาบันการเงินจนทำให้เว็บไซต์หรือระบบไม่สามารถให้บริการได้
ส่งผลให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานไม่สามารถทำธุรกรรมได้ ทำให้เกิดความเสียหายทางการเงินและความเสียหายทางชื่อเสียงขององค์กร
ภัยคุกคามจาก Insider Threats หรือ ภัยคุกคามภายในองค์กร
การโจมตีจากพนักงานหรือผู้ที่มีการเข้าถึงข้อมูลภายในขององค์กรก็เป็นภัยคุกคามที่สำคัญ พนักงานที่มีข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าอาจใช้ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว หรือแม้แต่การทำลายข้อมูลทางการเงินที่สำคัญขององค์กร

วิธีการป้องกันภัย ไซเบอร์ กับภัยคุกคาม
การใช้ระบบยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน หรือ MFA
การใช้ระบบ MFA ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าและระบบธนาคาร โดยใช้ในการยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน เช่น รหัสผ่านและรหัส OTP ช่วยลดความเสี่ยงจากการที่ข้อมูลการเข้าถึงรั่วไหล
การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption)
การเข้ารหัสข้อมูลเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยปกป้องข้อมูลที่สำคัญจากการถูกขโมยหรือถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลูกค้าหรือการทำธุรกรรม ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสจะไม่มีประโยชน์หากตกไปอยู่ในมือของผู้โจมตี
การฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์
พนักงานในอุตสาหกรรมการเงินและธนาคารเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ การฝึกอบรมพนักงานให้รู้จักการระมัดระวังภัยคุกคาม เช่น การไม่คลิกลิงก์จากอีเมลที่ไม่น่าเชื่อถือ และการจัดการรหัสผ่านอย่างปลอดภัยจะช่วยลดความเสี่ยงจากการโจมตี
การใช้ระบบตรวจจับภัยคุกคามแบบเรียลไทม์ (Real-time Threat Detection)
การใช้ระบบตรวจจับภัยคุกคามในเวลาจริงสามารถช่วยให้การโจมตีถูกหยุดยั้งได้ก่อนที่จะทำความเสียหายได้มาก การใช้เทคโนโลยีที่สามารถตรวจสอบและระบุพฤติกรรมที่ผิดปกติในระบบจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสำรองข้อมูล (Data Backup)
การสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญมาก หากเกิดการโจมตีจาก Ransomware หรือภัยคุกคามอื่น ๆ องค์กรสามารถกู้คืนข้อมูลที่สำคัญได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าไถ่หรือสูญเสียข้อมูลสำคัญ
บทบาทของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐในการป้องกันภัยคุกคามทาง ไซเบอร์
กำหนดกรอบนโยบายและมาตรฐานรัฐบาลต้องกำหนดกรอบนโยบายและมาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์ เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และมาตรฐาน PCI DSS เพื่อให้สถาบันการเงินปฏิบัติตาม
สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลภัยคุกคามทางไซเบอร์และร่วมกันป้องกันการโจมตีได้
ฝึกอบรมบุคลากร
การสนับสนุนการฝึกอบรมให้กับบุคลากรในภาคการเงินช่วยเพิ่มความรู้ในการรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์
ระบบเตือนภัยและการตอบสนองฉุกเฉิน
รัฐบาลสามารถสร้างระบบเตือนภัยและแผนตอบสนองกรณีฉุกเฉินเพื่อช่วยลดความเสียหายจากการโจมตี
การสนับสนุนเทคโนโลยีความปลอดภัย
รัฐบาลสามารถสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ในภาคการเงิน

ความท้าทายและแนวทางในอนาคต
การรักษาความปลอดภัยในอุตสาหกรรมการเงินและธนาคารจะยิ่งมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ตามที่เทคโนโลยีต่างๆ มีการพัฒนาและมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย
นอกจากนี้ การร่วมมือระหว่างธนาคาร หน่วยงานรัฐบาล และองค์กรด้านความปลอดภัยจะช่วยสร้างมาตรฐานการป้องกันภัยคุกคามที่เข้มแข็งขึ้น
ปกป้องข้อมูลจาก ภัยคุกคาทาง ไซเบอร์ เป็นไปได้
การปกป้องข้อมูลและระบบจากภัยคุกคามทาง ไซเบอร์ ในอุตสาหกรรมการเงินและธนาคารไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้
การเตรียมตัวด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม การฝึกอบรมพนักงาน จะช่วยลดความเสี่ยงและปกป้องข้อมูลจากภัยคุกคามต่างๆ ทำให้ผู้ใช้งานและลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แนวทางการรับมือกับ การโจมตีทางไซเบอร์ ได้ที่นี่