ในโลกของเราเทคโนโลยีและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน และ Cyber Attack นั้นกลายเป็น ภัยคุกคาม ที่ทั้งองค์กรและบุคคลทั่วไปต้องเจอ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายทางการเงิน ข้อมูลสูญหาย หรือความเสียหายต่อชื่อเสียงได้ การรับมือกับ Cyber Attack จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงและฟื้นฟูสถานการณ์ได้อย่างเร็ว
ก่อนที่จะต้องเจอกับ Cyber Attack สิ่งสำคัญ คือ การเตรียมตัวให้พร้อม ด้วยการศึกษาถึงภัยคุกคามนี้ และเตรียมแผนรับมือ (Incident Response Plan) ให้เหมาะสม ดังนี้
- การฝึกอบรมพนักงาน การให้ความรู้แก่พนักงานทุกคนในองค์กรเกี่ยวกับ ภัยคุกคาม ทางไซเบอร์ โดยการหลีกเลี่ยงคลิกลิงก์ที่น่าสงสัยหรือข้อความที่น่าสงสัย การตั้งรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา และการระวังการโจมตีแบบฟิชชิง (Phishing)
- การใช้งานเครื่องมือป้องกัน ภัยคุกคาม ควรที่จะติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส (Antivirus), การป้องกันไฟร์วอลล์ (Firewall), และระบบการตรวจจับการบุกรุก (Intrusion Detection System) เพื่อช่วยป้องกัน ภัยคุกคาม จากภายนอก
- การสำรองข้อมูล มั่นตรวจเช็คข้อมูลสำคัญต่างๆภายในองค์กรเพื่อให้สามารถรู้ได้ว่าเราโยโจมตีทางไซเบอร์หรือมีการลักลอบเข้าถึงข้อมูลสำคัญ หรือไม่ และสามารถแก้ไขได้ทันเวลา
ขั้นตอนที่ต้องทำทันทีเมื่อเกิดการโจมตี
เมื่อเกิด การโจมตีทางไซเบอร์ สิ่งแรกที่ต้องลงมือทำ คือ การป้องกันอย่างรวดเร็วเพื่อลดความเสียหายของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
การระงับการโจมตี
- ตัดการเชื่อมต่อทุกอย่างที่โจมตี ถ้าพบว่ามี Cyber Attack การเข้าถึงเซิร์ฟข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการกระจายของไวรัส ควรตัดการเชื่อมต่อทุกอย่างที่ถูกโจมตีทันทีไม่ว่าจะเป็นระบบหรืออุปกรณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสทางไซเบอร์แพร่กระจายไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ภายในเครือข่าย
- จำกัดการเข้าถึงข้อมูลทุกอย่าง Cyber Attack ที่มีความเชื่อมโยงกับการเข้าถึงข้อมูล ควรจำกัดการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญและระบบขององค์กรทันทีอย่าง การปรับเปลี่ยนรหัสต่างๆทั้งหมดและมีการปิดการเข้าถึงระบบที่อาจเสี่ยงถูก Cyber Attack
ทำการประเมินสถานการณ์ต่างๆ
- ตรวจสอบการโจมตี การตรวจสอบบันทึกการเข้าถึง (Logs) หรือกิจกรรมที่ผิดปกติในระบบจะช่วยให้คุณรู้ว่าการโจมตีเกิดขึ้นอย่างไรและเกิดขึ้นที่ไหน
- ทำการประเมินพื้นที่การโจมตี เราควรประเมินการโจมตีที่เกิดขึ้นทันที ทั้งในด้านการเงิน ข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญในระบบ รวมถึงการตรวจสอบข้อมูลสำคัญมี่อาจถูกลักลอบหรือถูกทำลาย หรือไม่
แจ้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- มีการให้ข้อมูลกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อทราบถึงการโจมตีที่เกิดขึ้น ควรบอกทีมงานที่มี่ส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ฝ่าย IT, ผู้บริหาร, หรือเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย เพื่อดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงที
- แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้ามี Cyber Attack อาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลหรือทำให้เกิดความเสียหายได้ต่อผู้ใช้งาน ควรประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เพื่อให้การแก้ไขหรือการดำเนินใดๆเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
การแก้ไขและฟื้นฟูหลังจากการถูกโจมตี
หลังจากที่ได้ทราบเกี่ยวกับ Cyber Attack และได้จัดการสถานการณ์แล้ว ขั้นตอนต่อไปนั้นคือการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูระบบให้กลับมาอย่างปลอดภัย ดังนี้
การกู้คืนข้อมูล
- ทำการสำรองข้อมูล หากข้อมูลที่สำคัญถูกโจมตีหรือถูกลบไป สามารถนำข้อมูลสำรอง (Backup)ที่เก็บข้อมูลไว้มาใช้งานแทนได้ เพื่อให้ธุรกิจทำงานต่อไปได้อย่างปกติ
- การตรวจสอบข้อมูลที่กู้คืนมา มีการตรวจสอบข้อมูลที่กู้คืนมาว่ามีความปลอดภัย หรือไม่และไม่มีไวรัสจาก ภัยคุกคาม ทางไซเบอร์อีก เพื่อตัดการโจมตีซ้ำอีกครั้ง
การแก้ไขช่องโหว่ในระบบ
- อัพเดตซอฟต์แวร์และแพตช์ความปลอดภัย มีการตรวจสอบระบบทั้งหมดและติดตั้งแพตช์ความปลอดภัย Security Patches ที่ยังไม่ได้ติดตั้ง เพื่อปิดช่องโหว่ที่อาจทำให้เกิดการโจมตีซ้ำ
- ปรับปรุงระบบการป้องกัน หลังจากที่ระบบถูกแก้ไขและดูแลแล้ว ควรทำการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยให้มีการช่วงโหว่น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย โดยอาจใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยกว่าที่ใช้อยู่เพื่อป้องกัน ภัยคุกคาม ที่อาจเกิดในอนาคต
การทดสอบระบบ
- ทดสอบระบบความปลอดภัย ควรทดสอบระบบอีกครั้งหลังจากทำการแก้ไขและอัปเดตระบบแล้ว เพื่อทำให้มั่นใจก่อนใช้ระบบว่ามีความปลอดภัยและสามารถพร้อมใช้งานหรือไม่
- การสแกนหามัลแวร์ ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีที่สามารถตรวจจับและลบมัลแวร์ออกจากระบบข้อมูลทั้งหมด เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ในอนาคต
การเรียนรู้จากเหตุการณ์และปรับปรุงแผนการตอบสนอง
การถูกโจมตีทางไซเบอร์นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวและจำเป็นจะต้องมีการเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการถูกโจมตีในอนาคต
การวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบ
- วิเคราะห์ต้นเหตุ หลังจากรักษาฟื้นฟูระบบแล้ว ควรหาต้นสาเหตุที่เกิดการโจมตีขึ้น เช่น ช่องโหว่ภายในระบบ หรือการทำงานที่ผิดพลาดของพนักงานแต่ละฝ่าย เพื่อหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นอีก
- ประเมินผลกระทบ คาดคะเนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถูกโจมตีทั้งในด้านการเงินและชื่อเสียง เพื่อสามารถนำไปพัฒนาเป็นกลยุทธ์ในการป้องกันในอนาคต
การปรับปรุงแผนรับมือ
- อัพเดตแผนรับมือ แผนรับมือเมื่อเกิดการโจมตีควรแก้ไขระบบในทันทีและใช้เทคโนโลยีให้ทันสมัยและครอบคลุมในการรักษาความปลอดภัยให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถรับมือกับ ภัยคุกคาม ที่อาจเกิดขึ้นใหม่
- ฝึกอบรมพนักงานให้ต่อเนื่อง ควรมีการฝึกอบรมพนักงานอย่างสม่ำเสมอเรื่องการป้องกันนี้เพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจในการรับมือกับ ภัยคุกคาม ทาง ไซเบอร์ รวมถึงการจำลองสถานการณ์การโจมตีที่อาจเกิดขึ้นภายในองค์กร
สรุปแนวทางการรับมือ
การโจมตีทางไซเบอร์ ภัยคุกคามที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับทุกองค์กรและตัวบุคคล การเตรียมพร้อมและแก้ไขระบบได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพนั้น สามารถช่วยลดความเสียหายและสามารถฟื้นฟูระบบให้กลับมาทำงานได้อย่างรวดเร็ว ควรมีแผนการรับมือที่ดี การรู้ถึงภัยคุกคามภายในระบบ การมีเครื่องมือใช้ป้องกัน และการฝึกอบรมพนักงานเป็นสิ่งที่สำคัญในการลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ และมีการเรียนรู้จากเหตุการณ์ต่างๆเพื่อนำมาปรับปรุงและป้องกันการโจมตีได้ในอนาคต